Cable & Accesories

มีหลายคนเคยสงสัยว่าสายแลน (LAN) หรือสายสัญญาณระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่ส่งสัญญาณระหว่างคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่ง ไป ยังอีกเครื่องหนึ่งนั้น เราจะมีวิธีการเลือกซื้อ หรือ เลือกใช้สายสัญญาณประเภทนี้กันอย่างไร ให้เหมาะสม กับการใช้งาน ที่ถูกต้องและประหยัดค่าใช้จ่ายแล้วทุกวันนี้มีระบบ Wireless หรือ WiFi แล้วยังคงต้องใช้สายสัญญาณประเภทนี้อยู่อีกหรือไม่ ลองมาดูกัน

 

(ในบทความนี้เราจะได้กล่าวถึงเฉพาะสายแลน ชนิดความเร็ว Cat.5e และ Cat.6 เท่านั้น)

สายแลน ชนิด Category 5e แบบ Unshielded twisted pair (UTP) cables เป็นสายที่ไม่มีชนวนป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอกหรือ Shielded(ส่วนที่มี Shielded จะกล่าวในภายหลัง) สายชนิดนี้ เป็นสายที่มี จำนวน 4 คู่สาย 8 เส้น และมีขนาดของแกนทองแดงขนาดที่ 24AWG (0.5 Squmm) ซึ่งมีการผลิตแกนทองแดงแบบแกนเดี่ยว (Solid conductor) ที่เหมาะกับการติดตั้งแบบทั่วไป และ แบบ แกนทองแดงแบบฝอย(stranded conductor) ที่เหมาะกับสายเชื่อมต่อภายในตู้สื่อสาร หรือที่เรียกว่าสาย Patch cord ซึ่งจะสามารถบิดโค้ง งอ ได้มากกว่าสายชนิด แกนเดี่ยว(Solid) สายชนิดนี้จะมี Bandwidth สูงสุด 350MHz ในบางยี่ห้อมาตรฐานที่ 100MHz และ ความเร็วในการส่งสัญญาณที่ 100-1000Mbps หรือ Gigabit

สายแลน ชนิด Category 6 แบบ Unshielded twisted pair (UTP) cables เป็นสายที่ไม่มีชนวนป้องกันสัญญาณรบกวนจากภายนอกหรือ Shielded(ส่วนที่มี Shielded จะกล่าวในภายหลัง) สายชนิดนี้ เป็นสายที่มี แกนกลางสำหรับแบ่งแยกช่องสัญญาณทั้ง 4 คู่สายและมี จำนวน 4 คู่สาย 8 เส้น เหมือนกับ Cat.5e แต่จะมีขนาดของแกนทองแดงที่ใหญ่กว่า ชนิด Cat5e อยู่ที่ขนาด 23AWG(0.65SQUMM) ซึ่งมีการผลิตแกนทองแดงทั้งแบบแกนเดี่ยว (Solid conductor) ที่เหมาะกับการติดตั้งแบบทั่วไป และ แบบแกนทองแดงแบบฝอย(stranded conductor) ที่เหมาะกับสายเชื่อมต่อภายในตู้สื่อสาร หรือที่เรียกว่าสาย Patch cord ซึ่งจะสามารถบิดโค้ง งอ ได้มากกว่าสายชนิด แกนเดี่ยว(Solid) สำหรับสาย Cat.6 จะมี Bandwidth สูงสุดที่ 650 MHz หรือมาตรฐานอยู่ที่ 250Mhz และ ส่วนความเร็วสูงสุดในการส่งสัญญาณที่ Full speed 1000Mbps หรือ Full Gigabit

 

เราจะมีวิธีการดูและสังเกต หรือแยกแยะอย่างไร ว่าสายเส้นไหนเป็น Cat.5e หรือ Cat.6

  • จุดสังเกต อันดับแรก คือ สายชนิด Cat5e ขนาดของเส้นรอบนอก จะเล็กกว่าสายชนิด Cat.6
  • สีของตัวสาย โดยส่วนใหญ่ในประเทศไทย สายชนิด cat.5e จะมีสีเทาและสีขาว ส่วนสายชนิด Cat.6 จะมีสีฟ้าหรือ น้ำเงินในบางยี่ห้อ
  • แกนทองแดง ของสายชนิด  Cat.5e จะมีแกนทองแดงที่เล็กกว่า ชนิด Cat.6
  • สาย Cat6 จะมีพลาสติกแกนกลาง ที่ขั้นระหว่างสายทั้ง 4 คู่ ส่วน สายชนิด Cat5e ไม่มี
  • อีกจุดสังเกตุด้านหน้าตัดของหัวคอนเน็คเตอร์ RJ45 Plug ตัวผู้จะมีวิธีสังเกตุดังนี้

              - Cat.5e หน้าตัด แกนกลางของสายจะเรียงกันแบบแนวนอน เสมอกัน

              - Cat.6 หน้าตัดจะ สลับฟันปลา ขึ้นลง ไม่เสมอกัน ดังแสดงที่รูปภาพ ด้านล่าง

สายสัญญาณ UTP Cat.5e จะผลิตตามมาตรฐาน ANSI/TIA/EIA-568-A โดยมี ความกว้างของช่องสัญญาณ (bandwidth) ที่ 100 MHz หรือ 350 MHz และ จะมีโค้ดสีในการเข้าสายแลน ตามมาตรฐาน TIA/EAI-568-A/B ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานของแต่ละพื้นที่หรือตามมาตรฐานของแต่ละองค์กรนั้น แต่ในปัจจุบันนิยมใช้รหัสสีแบบ TIA/EIA-568-B

เพราะการเข้า Code สีผิด ก็จะไม่สามารถใช้งาน ร่วมกับสายที่มีโค้ดสีแบบอื่นได้ ซึ่งเหมาะกับการใช้งานภายในอาคารทั่วไป เช่น การนำไปใช้งานในระบบคอมพิวเตอร์, เชื่อมต่อ Wireless หลายๆตัว, ระบบกล้อง IP camera, CCTV, Access control, PLC, BAS, Telephone หรือระบบที่เกี่ยวข้องกับ การเชื่อมต่อผ่านระบบเครือข่าย Ethernet LAN network ตามมาตรฐาน IEEE 802.3x ในทุกระดับของมาตรฐานการส่งสัญญาณ โดยจะแบ่งการใช้งานในย่านความถี่และความเร็วดังต่อไปนี้

  • ความเร็วในการส่งสัญญาณที่  10Mbps, 100Mbps, 1000Mbps, 10000Mbps
  • ความถี่ในการส่งสัญญาณ 100MHz, 250MHz, 350MHz,500MHz, 600MHz

 

แล้วเราจะเลือกใช้สาย Cat.5e และ Cat.6 กับ Application แบบใด ถึงจะเหมาะสม ทั้งคุณภาพและราคา

  1. สาย Cat5e ในระบบแลน(Ethernet LAN) เครือข่ายคอมพิวเตอร์ และ WiFi ในปัจจุบัน ต้องบอกก่อนเลยว่า เริ่มจะล้าสมัยแล้วสำหรับสายชนิดนี้ เพราะเนื่องด้วยข้อจำกัด หลายๆอย่าง เช่น Speed อัตราการส่งผ่านข้อมูล ที่ได้สูงสุดที่ 1000Mbps หรือ Gigabit และ ช่องของสัญญาณ Bandwidth ที่ได้สูงสุดที่ 350MHz ทั้งๆที่สายชนิด Cat6 ทำได้ดีกว่ามาก ถึง 650MHz และความเร็วระดับ 10Gigabit และปัจุจบันมีถึง Cat8 ที่ความเร็ว support 25Gbps/ 40Gbs ที่ Bandwidth 2000Mhz

แต่ทั้งนี้ ก็ยังสามารถจะเลือกใช้สายชนิดCat5e ได้อีกสักระยะ เพราะเอาเข้าจริง ตามสำนักงาน หรือตามบ้าน หรือองค์กรบางแห่ง ก็ยังคงสามารถใช้งานได้ทั่วไป เพราะความเร็วก็ยังสามารถตอบโจทย์การใช้งานแบบธรรมดาได้อยู่ดี ไม่ถึงกับช้าแต่ระดับองศ์กรที่เน้นระดับความเร็วสูงๆ ก็ต้องเปลี่ยนไปใช้สายแบบ UTP Cat.6 แทน เพราะสามารถตอบโจทย์การใช้งานได้มากกว่า เช่น การส่งภาพวีดีระดับ Full HD หรือองค์กรที่เน้น ตัดต่อภาพยนตร์ หรือหนัง หรือที่ทำกราฟฟิคดีไซด์, องค์กรที่เน้นระบบเกม ที่ต้องการความเร็ว และ หรือ ระบบ Data center ที่ให้บริการ โครงข่ายต่างๆ ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้เร็วขึ้น จึงสมควรใช้งานสายเคเบิ้ลชนิด Cat.6 แต่ก็จะมีราคาที่สูงกว่า Cat.5e ตามไปด้วยนั่นเอง

2. สาย UTP Cat5e และ Cat.6 ในระบบ โทรทัศน์วงจรปิด(CCTV) จะมีอยู่ 2 ระบบ แบบแรก คือ ระบบอนาล็อคธรรมดา แบบที่สอง คือ ระบบ HD-Analog TVI,AHD,CVI  ช่างหรือผู้ใช้งาน ก็สามารถเลือกใช้สายสัญญาณ ชนิด UTP cable Cat5e ทั้งชนิด ภายในอาคาร(Indoor) และ ภายนอกอาคาร (Outdoor) แทนสาย Coaxial cable ชนิด RG6 เพราะสามารถใช้ตัวแปลงสัญญาณ Balun ในการแปลงเพื่อต่อใช้งาน กับกล้องและตัวบันทึก (DVR/NVR) แถมใช้สายแลน Cat.5e ก็ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานกับกล้อง IP ได้อีก หรือระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้ เพียงแต่แค่เปลี่ยนคอนเน็คเตอร์ปลายทางใหม่ ก็สามารถใช้งานได้แล้ว ประหยัดราคาได้มาก 

ส่วนใครจะเลือกใช้สาย Cat5e หรือ Cat.6 นั้นก็ขึ้นอยู่กับงบประมาณ ของแต่ละหน่วยงาน และ ประโยชน์ที่จะได้รับ เมื่อใช้สายที่แพงขึ้น ให้คุ้มค่าเงินที่ลงทุนไป หรือเหมาะสมที่สุดกับการใช้งาน  ถ้าเป็นกล้องระบบ IP Camera จึงเหมาะสมกว่าที่จะใช้งานสาย Cat.6 เพราะระบบนี้ต้องการความเร็วที่สูงมาก เนื่องจากความละเอียดของภาพมากขึ้นตามมานั่นเอง

3. สายแลน(UTP Cable) ทั้งชนิด Cat.5e และ Cat.6 สามารถใช้งานได้ในระบบ PLC(Programmable Logic Control ) ที่ปัจจุบันทำได้ถึงระดับ PAC (Programmable Automation Control ) อย่างเช่น Modicon ต้นตำรับผู้คิดค้น การเชื่อมต่อแบบ Modbus ที่ยังคงสามารถใช้งานร่วมกับสายเคเบิ้ล Cat.5e และ Cat.6 ได้ ทุกระดับความเร็ว 10/100/1000Mbps ขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบระบบ ที่ต้องการความเร็วเท่าไร ในการส่งผ่านข้อมูล ให้กับอุปกรณ์ปลายทางและต้นทาง

 

และระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสายเคเบิ้ล(Ethernet cable) ชนิดนี้ มีอีกมากมาย แล้วแต่การนำไปประยุกต์ใช้งาน เช่น Access control, Audio system, Lighting control เป็นต้น

 

บทความชุดนี้ขอจบเท่านี้ก่อนนะครับ แล้วพบ กับ บทความของสายสัญญาณ ชนิด Cat.6A, Cat.7 และ Cat.8 ต่อไปครับ


ที่มา: https://www.bismon.com

Visitors: 14,679